ประวัตินางสงกรานต์มีที่มาจากเรื่องเล่าตำนานนางสงกรานต์ โดยอ้างอิงตามจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ ตำนานเล่าว่า มีเศรษฐีฐานะร่ำรวยคนหนึ่ง ไม่มีบุตร จึงไปบวงสรวงขอบุตรกับพระอาทิตย์ และพระจันทร์ แต่รอหลายปีก็ไม่มีบุตรสักที จนกระทั่งถึงฤดูร้อนปีหนึ่ง เศรษฐีได้นำข้าวสารซาวน้ำ 7 สี หุงบูชารุกขพระไทร พร้อมเครื่องถวาย และการประโคมดนตรี โดยได้ตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร พระไทรได้ฟังก็เห็นใจ จึงไปขอบุตรกับพระอินทร์ให้เศรษฐี ต่อมาเศรษฐีได้บุตรชาย และตั้งชื่อว่า "ธรรมบาลกุมาร"ธรรมบาลกุมารเป็นคนฉลาดหลักแหลม จนมีชื่อเสียงร่ำลือไปไกล ทำให้ท้าวกบิลพรหมได้ลงมาท้าทายปัญญา โดยได้ถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร ให้เวลา 7 วัน หากฝ่ายใดแพ้จะต้องตัดศีรษะบูชา ท้ายที่สุดธรรมบาลกุมารสามารถตอบปัญหาได้ ท้าวกบิลพรหมจึงต้องเป็นฝ่ายตัดศีรษะ แต่หากศีรษะนี้ตกลงพื้นโลก จะเกิดเพลิงไหม้โลกนางสงกรานต์นั้นเป็นธิดาของท้าวกบิลพรหม หรือท้าวมหาสงกรานต์ และเป็นนางฟ้าอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช (สวรรค์ชั้นที่ 1 ในทั้งหมด 6 ชั้น) ซึ่งมีหน้าที่ในการรับศีรษะของท้าวกบิลพรหมแห่รอบเขาพระสุเมรุในแต่ละรอบปี หรือในวันสงกรานต์นั้นเอง โดยมีเกณฑ์กำหนดที่ว่าวันสงกรานต์ คือวันที่ 13 เมษายน ตรงกับวันใดก็ให้นางสงกรานต์ประจำวันนั้นเป็นผู้แห่ นางสงกรานต์มีทั้งหมด 7 องค์ ได้แก่ นางสงกรานต์ทุงษเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์ นางสงกรานต์โคราดเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันจันทร์ นางสงกรานต์รากษสเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันอังคาร นางสงกรานต์มณฑาเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันพุธ นางสงกรานต์กิริณีเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี นางสงกรานต์กิมิทาเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันศุกร์ นางสงกรานต์มโหทรเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันเสาร์ คติความเชื่อ และเรื่องราวประวัติวันสงกรานต์ จึงเชื่อมโยงกับโหราศาสตร์การเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษในช่วงวันมหาสงกรานต์ โดยในแต่ละปีก็จะมีชื่อนางสงกรานต์ทั้ง 7 สลับหมุนเวียนกันนั่นเองในอดีต คนไทยให้ความสนใจกับชื่อนางสงกรานต์ในแต่ละปี เนื่องจากส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาน้ำฝนจากธรรมชาติ คำทำนายต่างๆ จึงเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับสภาวะต่างๆ เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ที่ส่งผลต่อผลิตผลทางการเกษตร ที่เป็นช่องทางสร้างรายได้หลักของผู้คนในยุคนั้น
นางสงกรานต์ กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จนั่งมาเหนือหลังมหิงสา (ควาย) เป็นพาหนะ วันที่ 14 เม.ย. เป็น วันมหาสงกรานต์ ทางจันทรคติตรงกับวันศุกร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 5 เวลา 16 นาฬิกา 01 นาที 02 วินาที วันที่ 16 เม.ย. เวลา 20 นาฬิกา 12 นาที 24 วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น 1385 ปีนี้วันเสาร์ เป็น ธงชัย , วันพุธ เป็น อธิบดี , วันศุกร์ เป็น อุบาทว์ , วันศุกร์ เป็น โลกาวินาศ วันเสาร์ เป็นธงชัย วันพุธ เป็นอธิบดี วันศุกร์ เป็นอุบาทว์ วันศุกร์ เป็นโลกาวินาศ
ปีนี้ วันจันทร์ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 500 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 50 ห่า ตกในมหาสมุทร 100 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 150 ห่า ตกในเขาจักรวาล 200 ห่า นาคให้น้ำ 2 ตัว เกณฑ์ธัญญาหาร ได้เศษ 6 ชื่อ ลาภะ ข้าวกล้าในภูมินาจะได้ 9 ส่วน เสีย 1 ส่วน ธัญญาหาร พลาหาร มัจฉมังษาหาร จะบริบูรณ์ อุดมสมบูรณ์ เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีปัถวี (ดิน) น้ำงามพอดี เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีกันย์ ชื่อปฐวี (ธาตุดิน) น้ำอุดมสมบูรณ์ดี เกณฑ์นาคราชให้น้ำ ปีนี้ นาคราชให้น้ำ 2 ตัว ทำนายว่า ฝนกลางปีอุดม ข้อมูลอ้างอิง : ฝ่ายโหรพราหมณ์ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง
Dec 4 , 2020
Dec 1 , 2020
Nov 30 , 2020